ประเพณีท้องถิ่น

งานเทศกาล เพลงประจำจังหวัด ภูมิปัญญาชาวบ้าน เครื่องรางของขลัง
       ประเพณีท้องถิ่น   จังหวัดปราจีนบุรีมีประเพณีท้องถิ่นที่นิยมปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน คือ ประเพณีตรุษสงกรานต์ ประเพณีการสวดคฤหัสถ์ ประเพณีแห่ดอกไม้ ประเพณีแห่นางแมว ประเพณีทำขวัญลาน ประเพณีบุญบั้งไฟ และการเล่นเพลงระบำ

ประเพณีตรุษสงกรานต์

ประเพณีการสวดคฤหัสถ์

     เป็นประเพณีที่รู้จักกันแพร่หลาย ยึดถือปฎิบัติกันในทุกภาคทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย เพราะเป็นประเพณีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณกาล นอกจากการทำบุญสรงน้ำพระ เล่นน้ำสงกรานต์แล้ว ยังมีการละเล่นพื้นบ้านในงานซึ่งแตกต่างกันไปแต่ละท้องที่แต่ละอำเภอ เพราะจังหวัดปราจีนบุรีมีประชาชนที่อพยพมาจากที่ต่างๆ กัน กิจกรรมการละเล่น เช่น การเล่นเข้าผี เช่น ผีแม่ศรี ผีลิงลม ฯลฯ การเล่นไม้หึ่ง หรือไม้จ่า การเล่นสะบ้า การเล่นช่วงรำ       เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การสวดพระมาลัย หรือการแสดงหน้าศพ จัดขึ้นที่งานศพ หรือ สถานที่ตั้งศพ ศาลาการเปรียญ หรือกุศลสถานก็ได้ตามความเหมาะสม พิธีการสวดพระมาลัยนี้จัดในเวลากลางคืนขณะตั้งศพอยู่ โดยมากมักจะสวด 3 คืน หรือถ้าเจ้าภาพเป็นผู้มีฐานะดีก็อาจจะสวดถึง 7 คืน

ประเพณีแห่ดอกไม้

ประเพณีแห่นางแมว

     เป็นประเพณีไทยซึ่งกำลังจะสูญหายไป เพราะปัจจุบันนี้ไม่ได้รับการอนุรักษ์ส่งเสริมให้แพร่หลาย ที่ยังคงรักษาและจัดงานประเพณีนี้อยู่ทุก ๆ ปี คือ ที่วัดแจ้งเมืองเก่า อำเภอประจันตคาม ประเพณีแห่ดอกไม้จัดขึ้นก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน และในวันออกพรรษาของทุกปี โดยเฉพาะในวันออกพรรษาจะจัดเป็นงานใหญ่ มีประชาชนมาร่วมงานอย่างคับคั่ง พิธีเริ่มที่วัดโดยพระสงฆ์ และชาวบ้านมาชุมนุมพร้อมเพรียงกัน แล้วจัดขบวนแห่ไปยังป่า หรือหัวไร่ปลายนาก็ได้ เมื่อไปถึงป่าแล้ว ก็ทำพิธีทางศาสนารับศีลจากพระสงฆ์ผู้เป็นประธาน จบแล้วชาวบ้านก็แยกย้ายกันไปเสาะแสวงหาดอกไม้ต่าง ๆ ในป่านั้น ขณะที่หาดอกไม้ก็ร้องรำทำเพลงกันไปหรือไม่ก็ส่งเสียงไชโยโห่ฮิ้วกันก้องป่า เป็นที่รื่นเริงสนุกสนานกัน บางทีหนุ่ม ๆ ก็ร้องเพลงเกี้ยวพาราสีสาว ๆ ทำให้เกิดบรรยากาศครึกครื้น เมื่อได้ดอกไม้ตามความต้องการแล้วก็กลับยังที่ประชุมรับศีล รับพรจากพระสงฆ์ เสร็จแล้วก็ไชโยโห่ร้อง ตั้งขบวนแห่นำดอกไม้ที่เก็บหาได้กลับวัด เพื่อนำดอกไม้ไปบูชาพระรัตนตรัยส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งนำไปปักประดับพระเจดีย์ทรายของแต่ละคน ตอนกลางคืนมีการเฉลิมฉลองพระเจดีย์ทราย มีมหรสพสมโภช หรือการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ      เป็นประเพณีที่เล่นเพื่อขอให้ฝนตก ชาวนา ชาวไร่ จะได้ทำนาทำไร่ได้ตามฤดูกาล หากฝนไม่ตกหรืออากาศแห้งแล้งเกินกว่ากำหนด ชาวนาก็จะรวมกลุ่มกันขอฝนโดยการเอาแมวตัวหนึ่งใส่กระชัง หามกันสองคนแห่ไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ในเวลากลางวัน หรือกลางคืนก็ได้แล้วแต่สะดวก มีพวกถือพานบ้าง กระบุงบ้าง เดินตามขบวน เมื่อชาวบ้านอื่นเห็นขบวนแห่นางแมวผ่านไปก็จะนำน้ำมาสาดแมว และสาดพวกขบวนแห่ด้วย พร้อมกับอวยพรให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล และให้ข้าวสารใส่กระบุง ให้เงินใส่พาน เมื่อเลิกแห่แล้วชาวนาก็จะนำสิ่งของที่ได้มาไปถวายวัด

 

ประเพณีบุญบั้งไฟ

     เป็นประเพณีที่ได้รับมาจากภาคอีสาน จัดตรงกับวันวิสาขบูชาเพื่อบูขาเทพยดาอารักษ์ให้ฝนตกตามฤดูกาล ชาวนาชาวไร่จะได้ทำไร่นาได้ผลอุดมสมบูรณ์ ในจังหวัดปราจีนบุรีนั้นนิยมจัดเป็นงานใหญ่ประจำปีที่วัดต้นโพธิ์ อำเภอศรีมโหสถ มีการจุดบั้งไฟขึ้นสูง การประกวดลำเซิ้งของขบวนแห่บั้งไฟ และมีการแสดงมหรสพสมโภช

              
ประเพณี เรียกขวัญข้าว ทำขวัญลาน
การเรียกขวัญข้าว จะทำพิธีตอนที่ต้นข้าวเริ่มตั้งท้อง คือ ระยะหลังวันสารทไทย และจะต้องทำวันศุกร์ จะเป็นเวลาใดก็ได้ ส่วนมากผู้ที่จะเรียกขวัญข้าวจะเตรียมตัวออกไปตอนเช้า เครื่องเซ่นที่ใช้เรียกขวัญข้าว มีกระยาสารท น้ำอบ น้ำหอม ส้ม เพราะแม่พระโพสพกำลังตั้งท้อง ต้องรับประทานส้ม พวกเครื่องแต่งตัวให้ใส่ถาด พวกส้ม ผลไม้ต่าง ๆ ขนมให้ใส่ชะลอม นำไปบริเวณนาข้าว เอาชะลอมผูกติดกับไม้และปักไว้ วางถาดของแต่งตัวไว้ใกล้ ๆ กล่าวพรรณนาแต่ในทางดี ๆ ที่จะทำให้ต้นข้าวงอกงาม ได้รวงดี ได้ข้าวดี สุดท้ายให้กล่าวดังนี้
               แม่พระโพสี   แม่พระโพสพ   แม่นบดารา
               แม่จันเทวี   แม่ศรีสุดา   ขอเชิญแม่มารับเครื่องสังเวย
ผู้เรียกขวัญข้าวกล่าวอำลาว่า เมื่อแม่พระโพสพรับประทานและแต่งตัวเสร็จแล้วก็จะขอลากลับ เป็นอันเสร็จพิธี

          

      

 

การทำขวัญลาน นิยมทำกันตอนเย็น ๆ เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จจะขนข้าวมากองไว้ที่ลาน มีการตกแต่งลอมข้าวด้วยธงสีต่าง ๆ สวยงาม มีขนมต้มแดงขนมต้มขาว ขนมปลากริมไข่เต่า เพื่อเป็นของสังเวยขวัญข้าว เจ้าของข้าวจะถือพานดอกไม้ธูปเทียนเดินกู่ร้องเรียกขวัญข้าวให้ทั่วนา เชิญขวัญไปกับฟ่อนข้าวให้ข้าวมีน้ำหนัก เมล็ดไม่ลีบ ให้ได้เมล็ดมาก ๆ การกู่เรียกขวัญจะพูดแต่ในทางดี ๆ เสร็จแล้วนำขวัญข้าวนั้นมาที่ลานข้าว

 

 

.........................................................................................................
สารสนเทศจังหวัดที่ตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติมหาวิทยาลัยรามคำแหง
| เกี่ยวกับโครงการ | ผู้ร่วมสนับสนุน | สารสนเทศฯสาขาวิทยบริการฯ | สารสนเทศจังหวัดปราจีนบุรี | มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
สารบัญหลัก| ประวัติ แผนที่ | สภาพทั่วไป | สภาพทางสังคม | สภาพทางเศรษฐกิจ | การท่องเที่ยว | ศิลปวัฒนธรรม
โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ | โครงการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวป่า | บุคคลดีเด่น | เอกสารอ่านเพิ่มเติม | เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง | ค้นหา( ดรรชนีคำ) |