ระบำสุโขทัย

          ระบำโบราณคดีชุดนี้เกิดจากแนวคิดริเริ่มของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากรได้จัดให้มีการแสดงถวายหน้าพระที่นั่งเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ในงานเปิดอาคารใหม่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เป็นผู้คิดท่ารำ อาจารย์มนตรี ตราโมทเป็นผู้แต่งทำนองขึ้นใหม่ให้มีความไพเราะเพราะพริ้ง

          เครื่องแต่งกายชุดระบำสุโขทัยนั้นได้อาศัยการศึกษาภาพลายเส้นรอบพระพุทธบาทสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ส่วนทรงผมดูแนวจากภาพลายเส้นจิตรกรรมที่วัดศรีชุม การแต่งกายแบ่งออกเป็นตัวเอกและตัวรอง ดังนี้ 

     ศีรษะ
 
ทรงยอดรัศมีสำหรับตัวเอก และทรงระฆังคว่ำสำหรับตัวรอง
 
     ต่างหู
 
เป็นดอกกลม
 
     เสื้อในนาง
 
สีชมพูอ่อน
 
     กรองคอ
 
สีดำ ปักดิ้นและเลื่อม
 
     ต้นแขน
 
ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง
 
     กำไลข้อมือ
 
ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง
 
     ข้อเท้า
 
ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง
 
     ผ้ารัดเอว
 
ทำด้วยผ้าสีดำ มีลวดลายเป็นดอกไม้ประดับและห้อยที่ชายเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีริบบิ้นสีเขียวห้อยมาทั้งสองข้าง
 
     ผ้านุ่ง
 
เป็นกระโปรงบานจีบหน้าสีส้ม มีลูกไม้สีขาวระบายเป็นชั้น ๆ
 
     ทรงผม
 
เกล้าผม ครอบด้วยที่รัดผม
 
     จำนวนผู้เล่น
 
ผู้หญิงจำนวน 7 คน (มากกว่านั้นก็ได้แต่ผู้แสดงต้องเป็นเลขคี่)
 
     เครื่องดนตรี
 
ประกอบด้วย ปี่ใน กระจับปี่ ฆ้องวงใหญ่ ซอสามสาย ตะโพน ฉิ่งและกรับ