สมัยสุโขทัยมีการพาณิชย์แบบเสรี มีตลาดมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน เจ้าเมืองมิได้เก็บภาษีอากรแต่อย่างใด ดังความตอนหนึ่งในศิลาจารึกว่า

          "…เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน …"

          (คณะกรรมการชำระพจนานุกรมแห่งราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า ปสาน ว่า คือ ตลาดของแห้ง ที่ขายของแห้ง เทียบกับคำว่า bazaar ในภาษาเปอร์เซีย)

          และความอีกตอนหนึ่งว่า

          "...เมื่อชั่วพ่อขุนราม เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีเข้า เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า…"